วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 3

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 3
วันที่ 22 สิงหาคม 2559
เวลา 08.30 - 11.30 น.

ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดงานราชการ

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 2

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 2
วันที่ 15 สิงหาคม 2559
เวลา 08.30 -11.30 น.

เนื้อหาที่เรียน
"หลักเบื้องต้นการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย"



การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
     การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง หมายถึง การให้ความรู้เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก เพราะเด็กอยู่ในความรับผิดชอบของสถาบันครอบครัว การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองถือเป็นกระบวนการทางสังคม ซึ่งสังคมมีหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ให้แก่บุคคลภายในสังคมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในสังคม ทั้งในและนอกระบบ การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองจึงเป็นการช่วยเหลือพ่อแม่ ผู้ปกครอง ตลอดจนผู้ที่เตรียมตัวจะเป็นพ่อแม่ให้ได้เรียนรู้ถึงวิธีการในการดูแล อบรมเลี้ยงดู และให้การศึกษาแก่เด็ก เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพและได้รับประสบการณ์ที่มีคุณค่า เพื่อพัฒนาตนต่อไปในอนาคต

ความสำคัญของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
1.เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก
2.เป็นการให้ผู้ปกครองได้เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองที่มีต่อการศึกษาของเด็ก
3.ทำให้ลดความขัดแย้งในการดำเนินงานทางการศึกษาช่วยให้การศึกษาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
4.เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนสนับสนุนและพัฒนาการศึกษาของเด็ก
5.ช่วยทำให้สถาบันครอบครัวมีความแข็งแรง

วัตถุประสงค์ในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง
1.เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการในการอบรมเลี้ยงดูเด็กและให้การศึกษาแก่เด็ก
2.เพื่อให้ความรู้และวิธีการในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่เด็ก
3.เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็กที่โรงเรียนเพื่อให้ที่บ้านเข้าใจตรงกัน
4.เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองได้ตระหนักถึงบทบาทของตนเองในการมีส่วนร่วมส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่บุตรหลาน
5.เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับรู้และเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาให้แก่บุตรหลาน

รูปแบบในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
1.แบบเป็นทางการ เช่น การบรรยาย การอภิปราย
2.แบบไม่เป็นทางการ เช่น การระดมสมอง การประชุมโต๊ะกลม
คำถามท้ายบทเรียน
1.การจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบันการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองมีความสำคัญอย่างไร จงอธิบาย
     ตอบ เพื่อให้ผู้ปกครองได้ตระหนักถึงหน้าที่ของตนเองในแต่ละด้านที่มีต่อเด็กปฐมวัย
2.ในสถานศึกษาปฐมวัยสามารถดำเนินกิจกรรมการให้ความรู้ผู้ปกครองในลักษณะหรือรูปแบบใดบ้าง 
จงอธิบายและยกตัวอย่างกิจกรรม
     ตอบ การจัดทำจุลสาร แผ่นผับ หรือสารสานสัมพันธ์กับผู้ปกครอง
3.นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรในการใช้บ้านเป็นฐานของการให้ความรู้ผู้ปกครอง
     ตอบ การใช้บ้านเป็นฐานของการให้ความรู้ผู้ปกครอง เป็นทางเลือกที่ดี เนื่องจากเราได้เห็น
บรรยากาศบ้านของเด็กจริงๆ และสามารถให้ความรู้ผู้ปกครองได้อย่างเหมาะสมตามที่ผู้ปกครองต้องการ
4.องค์ความรู้ที่จำเป็นในการให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยเกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้าง
     ตอบ 1.การวางแผน
              2.การดำเนินการประชุม
              3.ประเมินผลการประชุม
              4.การออกจดหมายข่าวการประชุม
ประเมินตนเอง 95%
ประเมินเพื่อน 100%
ประเมินผู้สอน 100%

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 1

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1
วันที่ 8 สิงหาคม 2559
เวลา 08.30 - 11.30 น.

เนื้อหาที่เรียน
     "การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย"

ความหมายของผู้ปกครอง
     ผู้ปกครอง หมายถึง ผู้ที่เป็นบิดา มารดา หรือ บุคคลอื่นที่ให้การอบรมเลี้ยงดูให้การศึกษาแก่เด็กที่อยู่ในการดูแล ดังนั้นในการกล่าวถึงผู้ปกครองจึงมีความหมายรวมถึงบุคคลที่เป็นพ่อและแม่ด้วย

ความสำคัญของผู้ปกครอง
     ผู้ปกครองมีความสำคัญซึ่งมีความใกล้ชิดกับเด็ก เป็นผู้ที่มีความหมายต่อชีวิตเด็ก ทั้งการเจริญเติบโตทางร่างกายและจิตใจ เป็นผู้ที่เด็กมอบความรักด้วยความบริสุทธิ์ใจ ผู้ปกครองจึงเป็นผู้นำที่จะช่วยให้เด็กเจริญเติบโต มีพัฒนาการที่เหมาะสม เพื่อการก้าวสู่โลกกว้างได้อย่างมั่นคงและมีความพร้อมในทุกด้าน จึงถือว่าผู้ปกครองเป็นผู้เสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้วยความรัก ความเข้าใจให้แก่เด็กตั้งแต่เยาว์วัยเป็นรากฐานอนาคตของสังคมให้มีความสมบูรณ์และแข็งแรง

บทบาทหน้าที่ของผู้ปกครอง 3 ด้าน
     1.บทบาทและหน้าที่ด้านการอบรมเลี้ยงดู มี 3 ประการ
1.เป็นผู้ให้การเลี้ยงดูเพื่อสร้างเสริมสุขภาพกายและใจที่ดีให้กับเด็ก
2.เป็นผู้ให้การศึกษาเบื้องต้น
3.เป็นผู้ส่างเสริมพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา

    2.บทบาทและหน้าที่ด้านการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้
1.ช่วยจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับกิจกรรมที่โรงเรียน
2.ส่งเสริมให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงให้มาก
3.สนมนาให้ความเป็นกันเองกับเด็ก ป้อนคำถามให้เด็กได้คิดหาคำตอบ
4.ชมเชยเมื่อเด็กทำความดี ทำให้ถูกต้อง ในขณะที่ทำผิดก็ต้องชี้แจงให้เด็กเข้าใจให้ถูกต้องก่อนที่เด็กจะจำวิธีการผิดๆไปใช้
5.ให้เด็กมีส่วนร่วมรับผิดชอบ ช่วยเหลืองานในบ้านที่เหมาะสมกับวัย
6.ให้อิสระแก่เด็กบ้างในบางโอกาส
7.สนับสนุนส่งเสริมให้เกิดปัญญา
8.คอยติดตามการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ของเด็กโดยไม่เข้มงวดจนเกินไป
9.ติดต่อกับครูของเด็กเพื่อรับทราบปัญหาและให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาก่อนที่จะสายเกินแก้

    3.บทบาทและหน้าที่ในด้านการส่งเสริมการศึกษา
1.ความอุทิศตนในการมีเวลาให้กับลูกอย่างเต็มที่
2.มีจุดมุ่งหมายสูงสุดเพื่อลูก
3.ช่างสังเกตถี่ถ้วน
4.ใช้สามัญสำนึกในการเลี้ยงลูก
5.ปลูกฝังวินัย ความเป็นไทย

คำถามท้ายบท
1.ในสังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นักศึกษาคิดว่าบทบาทและหน้าที่ของผู้ปกครองที่มีต่อเด็กปฐมวัยมีอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
     ตอบ 1.ให้ความรักและสายสัมพันธ์ในครอบครัว
             2. ให้ความเอาใจใส่และเอื้ออาทรต่อลูก
             3. ทำตนให้เป็นแบบที่ดีแก่ลูก
             4. ให้ประสบการณ์การเรียนรู้ในสังคมเกี่ยวกับการปฏิบัติตน
             5. ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้เป็นไปตามวัย
             6. ให้หลักธรรมในการพัฒนาเด็กด้วยหลักไตรสิกขา
             7.ส่งเสริมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ โดยผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย
             8. ศึกษาการเจริญเติบโตของเด็ก
             9. เอาใจใส่ดูแลสุขภาพ
            10. สนับสนุนเตรียมความพร้อมก่อนสู้สังคม

2.จงอธิบายวิธี แนวทางที่ผู้ปกครองสามารถใช้ในการส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญาให้แก่เด็กปฐมวัย
     ตอบ หากผู้ปกครองมีเวลา ก็สามารถจัดกิจกรรมที่ทำร่วมกับเด็ก เช่น กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ จะทำให้เด็กได้ฝึกใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก (ร่างกาย) เด็กได้ทำอย่างอิสระ ทำให้อารมณ์ดี (อารมณ์-จิตใจ) เด็กได้ทำร่วมกับผู้ปกครอง เป็นการฝึกการทำงานร่วมกับผู้อื่น (สังคม) และได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ (สติปัญญา)

3.การฝึกให้เด็กเป็นคนดี คนขยันและฉลาด ผู้ปกครองควรปฏิบัติอย่างไร
     ตอบ เป็นตัวอย่างให้แก่เด็ก และให้เด็กได้รับผิดชอบ ทำหน้าที่ของตัวอย่างเองอย่างเหมาะสม รวมไปถึงการฝึกให้เด็กได้คิดแก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆด้วยตนเอง

4.ปัญหาที่เป็นอุปสรรคของผู้ปกครองที่มีผลกระทบต่อเด็กปฐมวัย คือ ปัญหาที่เกี่ยวกับเรื่องใด จงอธิบาย
     ตอบ ปัญหาเรื่องเวลา เนื่องจากผู้ปกครองบางคนต้องทำงาน ทำให้ไม่สามารถให้เวลาอบรมลูกได้อย่างเต็มที่

ประเมินตนเอง 95%
ประเมินเพื่อน 100%
ประเมินผู้สอน 100%