วันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 18

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 18
วันที่ 31 พฤศจิกายน 2559
เวลา 08.30 - 11.30 น.

เนื้อหาที่เรียน
    วันนี้เป็นการเรียนการสอนในสัปดาห์สุดท้าย
อาจารย์เรียกเก็บใบปั้มมาเรียน
เพื่อประกาศรางวัลเด็กดีค่ะ


ประเมินตนเอง 100%
ประเมินเพื่อน 100%
ประเมินผู้สอน 100%

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 17

บันทึกการเรียนครั้งที่ 17
วันที่ 24 พฤศจิกายน 2559
เวลา 08.30 -1130 น.

จัดโครงการให้ความรู้ผู้ปกครอง
"โครงการนิทานสานรัก"
ณ มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ













ประเมินตนเอง 100%
ประเมินเพื่อน 100%
ประเมินผู้สอน 100%





วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 16

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 16
วันที่ 21 พฤศจิกายน 2559
เวลา 08.30 - 11.30 น.

เนื้อหาที่เรียน

"ชื่อโครงการ นิทานสานรัก"
หลักการและเหตุผล
การเล่านิทานเป็นกิจกรรมที่ตอบสนองต่อธรรมชาติของเด็ก ทำให้เด็กมีความสนุกสนาน เพลิดเพลินและผ่อนคลายอารมณ์สร้างพัฒนาการในด้านภาษาของเด็ก เด็กมักจะรบเร้า เรียกร้องให้ผู้ใหญ่เล่านิทานให้ฟังทุกวัน แม้ว่านิทานเรื่องนั้นเด็กจะเคยฟังมาแล้วกี่ครั้งก็ตาม การเล่านิทานให้เด็กฟังไม่ใช่เล่าเพื่อให้เด็กเกิดความสนุกและตลกขบขัน แต่ยังช่วยสร้างสรรค์จินตนาการ ความคิด ความเข้าใจ ความฝันและการรับรู้ให้กับเด็ก ตัวละครแต่ละตัวในนิทานจะสร้างจินตนาการในสมองเด็ก การเล่านิทานจึงเป็นกิจกรรมที่มีความจำเป็นสำหรับเด็กในการสร้างเสริมเด็กได้ในทุกเรื่องรวมถึงการสร้างนิสัยรักการอ่าน อีกทั้งยังช่วยส่ง เสริมพัฒนาการตามวัยทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาให้เกิดกับเด็กได้เป็นอย่างดี
ทั้งนี้การส่งเสริมพัฒนาการเด็กจำเป็นต้องให้ผู้ปกครองเป็นบุคคลสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นให้เด็กมีพัฒนาการตามวัยได้อย่างสมบูรณ์ จึงจัดโครงการ สานรักจากนิทานขึ้นเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในเรื่องของการเล่านิทาน เทคนิคการเล่านิทาน ประเภทของหนังสือนิทาน และวิธีการทำสื่อเพื่อเล่านิทาน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมศักยภาพของผู้ปกครองในการกระตุ้นพัฒนาการเด็กด้วยวิธีการที่หลากหลาย ดังนั้น การจัดการเรียนรู้ในรายวิชา EAED3210 Parent Education for Early Childhood การให้การศึกษาผู้ปกครองเด็กปฐมวัย   จึงได้กำหนดให้นักศึกษาได้มีโอกาสจัดโครงการและกิจกรรมเพื่อการพัฒนาตามความสนใจ ภายใต้ชื่อ โครงการ สานรักจากนิทานเพื่อให้ความรู้กับผู้ปกครองในเรื่องการเล่านิทาน

วัตถุประสงค์
1.     ผู้ปกครองรู้และเข้าใจการเลือกหนังสือให้ลูกอย่างถูกต้อง
2.     ผู้ปกครองสามารถเล่านิทานให้ลูกฟังได้อย่างถูกต้อง
3.     ผู้ปกครองสามารถประดิษฐ์หุ่นนิ้วประกอบนิทานได้

เนื้อหา
โครงการ นิทานสานรัก เป็นโครงการที่ให้ความรู้ผู้ปกครองเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้
1.  หนังสือเล่มสำหรับเด็ก
2.  หนังสือเด็กในปัจจุบัน
3.  หนังสือเด็กในประเทศไทย
4.  ลักษณะหนังสือที่เด็กชอบ
5.  จุดมุ่งหมายของหนังสือสำหรับเด็ก
6.  เทคนิคการเล่านิทานการเตรียมตัวก่อนเล่านิทาน
7.  การเตรียมตัวก่อนเล่านิทาน

8.  เทคนิคการเล่านิทานเพื่อให้เด็กได้เพลิดเพลินและมีความสุข

แผนการดำเนินงาน



ผลที่คาดว่าจะได้รับ
        1. ผู้ปกครองรู้และเข้าใจเทคนิคการเล่านิทาน
        2. ผู้ปกครองรู้และเข้าใจการเลือกหนังสือสำหรับลูกได้อย่างเหมาะสม
        3. ผู้ปกครองเข้าใจวิธีการประดิษฐ์หุ่นมือ

แบบประเมินความพึงพอใจ



แบบประเมินโครงการ


ประเมินตนเอง 100%
ประเมินเพื่อน 100%
ประเมินผู้สอน 100%




วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 15

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 15
วันที่ 14 พฤศจิกายน 2559
เวลา 08.30 - 11.30 น.

เนื้อหาที่เรียน
ดำเนินการจัดทำโครงการ "นิทานสานรัก"


1.เนื้อหาการให้ความรู้ผู้ปกครอง มีดังนี้
- หนังสือเล่มสำหรับเด็ก
- หนังสือเด็กในประเทศไทย
- หนังสือเด็กในปัจจุบัน
- ลักษณะหนังสือที่เด็กชอบ
- จุดมุ่งหมายของหนังสือสำหรับเด็ก
- เทคนิคการเล่านิทาน 
-การเตรียมตัวก่อนเล่านิทาน
2.สถานที่จัดทำโครงการ มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ
3.กิจกรรในโครงการ
-การบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับหนังสือนิทานสำหรับเด็ก
-เทคนิคการเล่านิทาน
-ให้ผู้ปกครองประดิษฐ์หุ่นมือจากกระดาษ

ประเมินตนเอง 100%
ประเมินเพื่อน 100%
ประเมินผู้สอน 100%

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 14

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 14
วันที่ 7 พฤศจิกายน 2559
เวลา 08.30 - 11.30 น.

เนื้อหาที่เรียน

แต่ละประชุมเรื่องโครงการที่จะจัดทำ



- การเขียนโครงการ ประกอบด้วย 11 หัวข้อหลัก
1.ชื่อโครงการ
2.วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
3.เนื้อหา/หลักสูตร
4.เป้าหมาย มี 2 แบบ คือ เชิงปริมาณ และ เชิงคุณภาพ
5.วัน เวลา และสถานที่จัดทำโครงการ
6.รูปแบบการจัดทำโครงการ
7.แผนการดำเนินงานแบ่งเป็นหัวข้อย่อยคือ การเตรียมงาน(P) การดำเนินงาน(D) การนิเทศติดตามผล(C) การสรุปและประเมินผล(A)
8.งบประมาณ แบ่งออกเป็น ค่าตอบแทน ค่าใช้สอย และค่าวัสดุอุปกรณ์
9.ผลที่คาดว่าจะได้รับ จะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์
10.การติดตามและประเมินโครงการ
11.ผู้รับผิดชอบโครงการ

- คำสั่งแต่งตั้ง
- กิจกรรมที่ทำในโครงการ เช่น การบรรยาย การสาธิต การทดลอง การเล่านิทาน เป็นต้น
- จัดทำเอกสารให้ความรู้ มีดังนี้ ป้ายนิเทศ แผ่นพับ กิจกรรมให้ความรู้
- แบบประเมินโครงการ
- แฟ้มโครงการ

ประเมินตนเอง 100%
ประเมินเพื่อน 100%
ประเมินผู้สอน 100%

วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 13

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 13
วันที่ 31 ตุลาคม 2559
เวลา 08.30 - 11.30 น.

เนื้อหาที่เรียน 

"วิเคราะห์แบบสอบถามการให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย"

แต่ละกลุ่มรายงานและรายงานปัญหาที่พบเมื่อไปสำรวจความต้องการของผู้ปกครอง

การดำเนินงาน
     ดำเนินงานที่ ศูนย์เด็กเล็กรุ่งมณีพัฒนา และ ชุมชนลาดพร้าววังหิน โดยจัดทำแบบสอบถามทั้งหมด 50 ชุด

ปัญหาที่พบ
   1. ผู้ปกครองบางท่านไม่สะดวกในการทำแบบสอบถาม
   2. ผู้ปกครองไม่เข้าใจหัวข้อต่างๆ
   3. ผู้ปกครองเป็นผู้สูงอายุ
   4. ผู้ปกครองเป็นชาวต่างชาติ

ข้อเสนอแนะ
   1.อยากทราบเรื่องการเรียนของเด็กพิเศษสามารถเรียนร่วมกับเด็กปกติได้หรือไม่
   2.อยากทราบการดำรงชีวิต






ประเมินตนเอง 95%
ประเมินเพื่อน 100%
ประเมินผู้สอน 100%


วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 12

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 12
วันที่ 24 ตุลาคม 2559
เวลา 08.30 - 11.30 น.

ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากหยุดชดเชยวันปิยะมหาราช

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 11

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 11
วันที่ 17 ตุลาคม 2559
เวลา 08.30 - 11.30 น.

เนื้อหาที่เรียน

วันนี้ไปแจกแบบสอบถามเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องที่จะจัดการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง
ณ ศูนย์เด็กเล็กรุ่งรวีพัฒนา และบริเวณชุมชนชุมชนลาดพร้าววังหิน







ประเมินตนเอง 100%
ประเมินเพื่อน 100%
ประเมินผู้สอน 100%





บันทึกการเรียน ครั้งที่ 10

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 10
วันที่ 17 ตุลาคม 2559
เวลา 08.30 - 11.30 น.

เนื้อหาที่เรียน

"การเขียนโครงการให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย"


     ส่วนประกอบการเขียนโครงการ มีดังนี้
1.ชื่อโครงการ
     การตั้งชื่อโครงการต้องมีความชัดเจน เหมาะสม และเฉพาะเจาะจง เป็นที่เข้าใจได้โดยง่ายสำหรับผู้นำโครงการไปใช้หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ ชื่อโครงการจะบอกให้ทราบว่า จะทำสิ่งใดบ้าง โครงการที่จัดทำขึ้นนั้น ทำเพื่ออะไร ชื่อโครงการโดยทั่วไปควรจะต้องแสดงลักษณะ งานที่ต้องปฏิบัติ ลักษณะเฉพาะของโครงการ และจุดมุ่งหมายของโครงการ
2.วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
     โครงการทุกโครงการจำเป็นต้องมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายเป็นเครื่องชี้แนวทางในการดำเนินงานของโครงการ โดยวัตถุประสงค์จะเป็นข้อความแสดงถึงความต้องการที่จะจัดทำสิ่งต่างๆภายในโครงการให้ปรากฏผลเป็นรูปธรรม ซึ่งข้อความที่ใช้เขียนวัตถุประสงค์จะต้องชัดเจน ไม่คลุมเครือ สามารถวัดและประเมินผลได้ โครงการแต่ละโครงการสามารถมีวัตถุประสงค์มากกว่า 1 ข้อ
3.เนื้อหา/หลักสูตร
     เป็นเนื้อหาการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการจัดกิจกรรม ความรู้ต่างๆที่จัดให้ผู้ปกครองได้รับ อาจเป็นความรู้ที่สามารถอ้างอิงได้
4.เป้าหมาย มี 2 แบบ
    - เชิงปริมาณ เช่น ผู้ปกครองของนักเรียนชั้นอนุบาล 3 อายุ 3-5 ปี โรงเรียนพิกุลเงิน จำนวน 20 คน
    - เชิงคุณภาพ เช่น ผู้ปกครองร้องละ 80% สามารถเล่านิทานได้
5.วัน เวลา และสถานที่จัดสัมนา
     ระยะเวลาในการดำเนินงานโครงการ เป็นการระบุระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ จนกระทั่งถึงเวลาสิ้นสุดโครงการ ว่าใช้เวลาทั้งหมดเท่าใด โดยแสดงให้เห็นจุดเริ่มต้น และสิ้นสุด ของโครงการโดยระบุ วัน เดือน ปี ที่เริ่มทำและสิ้นสุด ถ้าหากเป็นโครงการระยะยาว และมีหลายระยะก็ต้องแสดงช่วงเวลาในแต่ละระยะของโครงการนั้นด้วยเพื่อใช้เป็นรายละเอียดประกอบการพิจารณาอนุมัติโครงการ เช่น วันจันทร์ ที่ 10 ตุลาคม 2559 เวลา 09.00 - 17.00 น. ณ โรงเรียนพิกุลเงิน
6.รูปแบบการจัดโครงการ เช่น การบรรยาย การอภิปราย เกมส์ 
7.แผนการดำเนินงาน 
     เป็นขั้นตอนตามลำดับก่อน-หลัง เพื่อใช้ปฏิบัติให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ วิธีการดำเนินการจึงนำวัตถุประสงค์มาจำแนกแจกแจงเป็นกิจกรรมย่อยหลายกิจกรรม โดยจัดแสดงให้เห็นตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ ว่ามีกิจกรรมใดที่จะต้องทำให้เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งกิจกรรมต่างๆเหล่านี้ จะนำไปอภิปรายโดยละเอียดในส่วนของการแผนการปฏิบัติงานหรือปฏิทินปฏิบัติงานอีกครั้งหนึ่ง แบ่งเป็น 4 หัวข้อย่อย
    1.การเตรียมงาน : P
    2.การดำเนินงาน : D
    3.การนิเทศติดตามผล : C
    4.การสรุปและประเมินผล : A
8.งบประมาณ แบ่งออกเป็น ค่าตอบแทน/ค่าใช้สอย/ค่าวัสดุอุปกรณ์
9.ผลที่คาดว่าจะได้รับ/ผลที่หวังว่าจะเกิดขึ้นหลังจากทำโครงการ ซึ่งจะสอดคล้องกับวัตถุประสงค์
10.การติดตามและประเมินโครงการ
     ในส่วนนี้จะแสดงถึงการติดตาม การควบคุม การกำกับ และการประเมินผลโครงการ เพื่อให้โครงการบรรลุถึงวัตถุประงสงค์ที่ได้กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เสนอโครงการควรระบุวิธีการที่ใช้ในการควบคุม และประเมินผลโครงการไว้ให้ชัดเจน ทั้งนี้อาจจะต้องระบุบุคคลหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบในการประเมินโครงการ พร้อมทั้งบอกรูปแบบการประเมินผลโครงการ
11.ผู้รับผิดชอบโครงการ

ประเมินตนเอง 93%
ประเมินเพื่อน 100%
ประเมินผู้สอน 100%

วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 9

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 9
วันที่ 3 ตุลาคม 2559
เวลา 08.30 - 11.30 น.

เนื้อหาที่เรียน

นำเสนอวิจัยการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง



กลุ่มที่ 1 วิจัยเรื่อง การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยสำหรับผู้ปกครอง จังหวัดมหาสารคาม
กลุ่มที่ 2 วิจัยเรื่อง การพัฒนาและประเมินการใช้โปรแกรมการให้ความรู้ผู้ปกครองไทยในการส่งเสริมทักษะทางการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยด้วยการสอนภาษาแบบโฟนิกส์ โรงเรียนเซนต์แอนดรูส์สามัคคี มหาวิทยาลัยรังสิต
กลุ่มที่ 3 ความสัมพันธ์ระหว่างการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองกับความรู้ของผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย
กลุ่มที่ 4 การศึกษาความสัมพันธ์คุณลักษณะผู้ปกครองกับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง โรงเรียนกุ๊กไก่

วิจัยเรื่อง การพัฒนาและประเมินการใช้โปรแกรมการให้ความรู้ผู้ปกครองไทย
ในการส่งเสริมทักษะทางการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ
ของเด็กปฐมวัยด้วยการสอนภาษาแบบโฟนิกส์ โรงเรียนเซนต์แอนดรูส์สามัคคี

การศึกษาระดับ ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต
มหาวิทยาลัย รังสิต
ปีที่ทำวิจัย ปีการศึกษา 2554
ผู้วิจัย คุณแสงวิไล จารุวาที

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.เพื่อพัฒนาโปรแกรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองไทย
     เรื่องการส่งเสริมทักษะทางการอ่าน ออกเสียงภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยด้วยการสอนภาษาแบบโฟนิกส์ ในเรื่องเสียงอักษร (Letter Sounds) ทักษะการผสมเสียงให้เป็นคำ (Blending Skills) และทักษะการแยกเสียงในคำ (Segmenting Skills)
2.เพื่อประเมินการใช้โปรแกรมการส่งเสริมทักษะทางการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของ เด็กปฐมวัยด้วยการสอนภาษาแบบโฟนิกส์ของผู้ปกครองในไทย

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.เพื่อส่งเสริมทักษะทางการอ่านภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยด้วยการสอนภาษาแบบโฟนิกส์ และแผนการดำเนินการใช้โปรแกรมที่ได้ จากการวิจัยนี้ โรงเรียนสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจในการส่งเสริมทักษะทางการอ่านภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัย ให้สอดคล้องไปกับการ เรียนการสอนของทางโรงเรียน
2.เพื่อส่งเสริมทักษะทางการอ่านภาษาอังกฤษ ของเด็กปฐมวัยด้วยการสอนภาษาแบบโฟนิกส์ เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมในโรงเรียนที่มีลักษณะและแนวการเรียนการสอนคล้ายคลึงกัน โดยดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพและความพร้อมของโรงเรียนนั้นๆ
3.ช่วยให้ผู้ปกครองเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในการมีบทบาทในการส่งเสริมทักษะทางการอ่าน ภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัย

วิธีดำเนินการวิจัย
   ประชากร
     -เด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษา อยู่ในระดับชั้น Year 1 (ซึ่งเทียบเท่าระดับชั้นอนุบาล 3 ในระบบการศึกษาไทย) โรงเรียนนานาชาติ เซนต์แอนดรูส์สามัคคีปีการศึกษา 2553 จำนวนทั้งสิ้น 14 คน

   กลุ่มตัวอย่าง
     -ผู้วิจัยใช้การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 11 คน

สรุปผลการวิจัย
     - วัตถุประสงค์ที่1
   เพื่อพัฒนาโปรแกรมการให้ความรู้ผู้ปกครองไทยเรื่องการส่งเสริมทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัย ด้วยการสอนแบบภาษาโฟนิกส์ ในเรื่องเสียงอักษร ทักษะผสมเสียงให้เป็นคำ และทักษะการแยกเสียงในคำ
     - วัตถุประสงค์ที่2
   เพื่อประเมินการใช้โปรแกรมส่งเสริมทักษะทางการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยด้วยการสอนแบบโฟนิกส์ของผู้ปกครองไทย โรงเรียนนานาชาติเซนต์แอนดรูส์สามัคคี ผลจากการเปรียบเทียบความสามารถทางภาษาอังกฤษแบบโฟนิกส์ของเด็กปฐมวัยที่เข้าร่วมโปรแกรมด้วยการทดสอบก่อน และหลังการทดลอง พบว่าหลังการเข้าร่วมโปรแกรม ความสามารถทางภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยสูงขึ้นกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยผู้ปกครองส่วนใหญ่ดำเนินการตามทุกขั้นตอนที่กำหนดไว้ในโปรแกรมอย่างครบถ้วน เมื่อดำเนินการครบแล้วได้หาคำศัพท์นอกเหนือจากที่กำหนดมาให้เด็ได้ฝึกฝนเพิ่มเติม

ประเมินตนเอง 100%
ประเมินเพื่อน 100%
ประเมินผู้สอน 100%

วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 8

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 8
วันที่ 26 กันยายน 2559
เวลา 08.30 - 11.30 น.

ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นสัปดาห์สอบกลางภาค

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 7

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 7
วันที่ 19 กันยายน 2559
เวลา 08.30 - 11.30 น.

เนื้อหาที่เรียน
รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองในสถานศึกษา



ข่าวสารประจำสัปดาห์
     เป็นข้อมูลข่าวสารที่ส่งไปถึงผู้ปกครองเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมของเด็กที่โรงเรียนและแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กที่บ้านเพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจและร่วมกันพัฒนาเด็กไปในทิศทางเดียวกัน ข้อมูลประจำสัปดาห์ประกอบไปด้วย
1.พัฒนาการและการเรียนรู้ที่เด็กได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม
2.กิจกรรมครอบครัว เป็นกิจกรรมที่พ่อแม่ร่วมทำกับเด็ก
3.เรื่องน่ารู้สำหรับผู้ปกครอง เป็นการให้ข้อมูลความรู้เพื่อนำไปอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการเด็กหรือแก้ไขปัญหาพฤติกรรมเด็ก
4.ข้อเสนอแนะของผู้ปกครอง

ตัวอย่าง ข่าวสารประจำสัปดาห์


จดหมายข่าวและกิจกรรม
     เป็นการนำเสนอความรู้ให้แก่ผู้ปกครองในชั้นเรียนให้รับรู้ถึงข่าวสารและกิจกรรมที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ในการพัฒนาเด็ก

ตัวอย่างจดหมายข่าวและกิจกรรม



ป้ายนิเทศให้ความรู้ผู้ปกครอง
     จัดเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ปกครองอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งสามารถจัดได้บริเวณหน้าชั้นเรียนของทุกห้อง โดยนำข้อมูลความรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้ปกครองจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย

ตัวอย่างป้ายนิเทศให้ความรู้ผู้ปกครอง




รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับสถานศึกษา

1.การสนทนา
     เป็นรูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองที่เข้าถึงและตรงมากที่สุด เป็นแนวทางหนึ่งของการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีเพื่อผู้ปกครองและช่วยให้การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเป็นไปอย่างราบรื่น



2.ห้องสมุดผู้ปกครอง
     เป็นสถานที่เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารต่างๆ เป็นแหล่งเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่งของการให้บริการเผยแพร่ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวหรือการเปลี่ยนแปลงที่ทันสมัยสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองได้มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานของสถานศึกษา



3.ป้ายนิเทศ
     เป็นป้ายที่จัดเพื่อให้ความรู้และข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ปกครองทั้งสถานศึกษา ลักษณะของป้ายประกอบด้วยภาพ ตัวอักษร ของจริง แผนภูมิ สถิติ เป็นต้น


4.นิทรรศการ
     เป็นรูปแบบที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของสถานศึกษาให้แก่ผู้ปกครองได้อย่างกว้างขวางรูปแบบหนึ่งด้วยการใช้สื่อหรืออุปกรณ์หลายชนิดในการถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้


5.การประชุม
     เป็นกิจกรรมหลักของสถานศึกษาที่สามารถใช้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารหรือให้ความรู้แก่ผู้ปกครองได้ดีที่สุด ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินงานของสถานศึกษาบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย


6.มุมผู้ปกครอง
     เป็นบริเวณที่สถานศึกษาจัดให้แก่ผู้ปกครองในระหว่างการเยี่ยมชมโรงเรียน หรือพบปะสังสรรค์ระหว่างผู้ปกครองกับครู


7.จุลสาร
     เป็นสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในทุกๆด้านให้แก่ผู้ปกครองได้รับทราบความเคลื่อนไหวและเพื่อประชาสัมพันธ์ เนื้อหาในจุลสารประกอบไปด้วย 4 ส่วน คือ ส่วนของบรรณาธิการ เรื่องราวของเด็กๆ บทความรู้ และเบ็ดเตล็ด

8.อินเทอร์เน็ต
     เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร เวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ใช้เพื่อการเรียนการสอน และ เวิลด์ไวด์เว็บ 


9.คู่มือผู้ปกครอง
     เป็นเอกสารที่ให้ความรู้ผู้ปกครองได้รับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา โดยจัดพิมพ์แบบหนังสือทั่วไป


คำถามท้ายบท
1.รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับชั้นเรียน ครูประจำชั้นควรพิจารณาในการเลือกใช้รูปแบบใดบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
     ตอบ 1.ข่าวสารประจำสัปดาห์
2.จดหมายข่าวและกิจกรรม
3.ป้ายนิเทศให้ความรู้ผู้ปกครอง

2.รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับสถานศึกษามีรูปแบบใดบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
    ตอบ 1.การสนทนา เช่น พบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนความรู้เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาเด็ก
2.ห้องสมุดผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจในการดำเนินงานของสถานศึกษา การอบรมเลี้ยงดู การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก การจัดการศึกษา
3.ป้ายนิเทศ เพื่อให้ความรู้ ข้อมูลข่าวสาร เช่น ข่าวของสถานศึกษา
4.นิทรรศการ เช่น นิทรรศการเพื่อประชาสัมพพันธ์ นิทรรศการเพื่อให้ความรู้
5.การประชุม เช่น แลกเปลี่ยนทัศนคติระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกครอง
6.มุมผู้ปกครอง ผู้ปกครองได้แลกเปลี่ยนความความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
7.จุลสาร ให้ผู้ปกครองได้รับทราบความเคลื่อยไหวและประชาสัมพันธ์
8.อินเทอร์เน็ต ให้ความรู้เกี่ยวกับสถานศึกษา สาระที่เป็นประโยชน์สำหรับเด็ก เป็นต้น
9.คู่มือผู้ปกครอง ให้ผู้ปกครองได้รับข่าวสารเกี่ยวกับสถานศึกษา

3.นักศึกษามีวิธีการหรือแนวทางแก้ปัญหาผู้ปกครองที่ไม่ให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมโครงการหรือกิจกรรมให้ความรู้ผู้ปกครอง จงอธิบาย
     ตอบ ให้ผู้ปกครองทำกิจกรรมกับเด็กหรือทำจดหมายข่าวให้แก่ผู้ปกครอง

4.การจัดกิจกรรมการให้ความรู้ผู้ปกครองมีความสำคัญและจำเป็นอย่างไรจงอธิบาย
     ตอบ เพื่อให้ผู้ปกครองได้รู้ความเป็นไปของสถานศึกษา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และพฤติกรรมของเด็ก

5.รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองที่มีประสิทธิภาพ มีลักษณะของรูปแบบอย่างไร จงอธิบายพร้อมแสดงความคิดเห็น
     ตอบ สถานศึกษาให้ความรู้แก่ผู้ปกครองอย่างถูกต้องแม่นยำ รวดเร็ว และทั่วถึง 

ประเมินตนเอง 97%
ประเมินเพื่อน 100%
ประเมินผู้สอน 100%













วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 6

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 6
วันที่ 12 กันยายน 2559
เวลา 08.30 - 11.30 .

ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดงานราชการ


วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 5

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 5
วันที่ 5 กันยายน 2559
เวลา 08.30 -11.30 น.

เนื้อหาที่เรียน
"โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองในแต่ละประเทศ"



     สถานศึกษาทุกระดับทั้งโลกต่างให้ความสำคัญกับบทบาทหน้าที่ของพ่อแม่ การให้ความรู้กับผู้ปกครองจึงเป็นภารกิจที่สถานได้ดำเนินงานในรูปแบบที่แตกต่างกัน ในแต่ละประเทศทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการศึกษาปฐมวัยให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
     
     โครงการ การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในประเทศไทย
โครงการแม่สอนลูก
     -ดำเนินการโดยกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ
     -จัดสำหรับเด็กที่ด้อยโอกาส
     -แนะนำให้รู้จักใช้ทักษะ
     -อาศัยรูปแบบโครงการ การเยี่ยมบ้านของประเทศ อิสราเอล
     -เนื้อหากิจกรรม เป็นกิจกรรมประติสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูก
โครงการแม่สอนลูก
     -ดำเนินการโดย ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จังหวัดอุบลราชธานี
     -นำแนวทางของโปรแกรม hippy program ของประเทศอิสราเอล
     -เน้นให้ผู้ปกครองมีความพร้อมก่อนส่งลูกเข้าเรียน
โครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
     -ดำเนินงานโดยสำนักสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต
     -มุ่งเร่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กและเยาวชนไทย
โครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว บ้านล้อมรัก
     -ดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
     -เพื่อสร้างความเข้าใจบทบาทของพ่อแม่ ผู้ปกครองในการดูแลเอาใจใส่บุตรหลาน เพื่อให้ปลอดภัยและห่างไกลจากยาเสพติด
โครงการหนังสือเริ่มแรก (bookstart thailand) 
     -เริ่มต้นในปี พ.ศ.2546 โดนเริ่มของมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก
     -มีเป้าหมายให้ พ่อแม่ลูกมีความสุขร่วมกันในโลกของหนังสือ สร้างพื้นฐานการอ่าน และสายสัมพันธ์ในครอบครัว
     -ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยนิสัยรักการอ่าน
โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว
     -เป็นการดำเนินงานร่วมการของกรมพัฒนาชุมชน กรมการศึกษานอกโรงเรียน กรมอนามัย สำนักงานปรัดกระทรวงสาธารณสุข และอีกหลายหน่วยงาน
     -เพื่อพัฒนาและเพิ่มพูดความรู้ให้พ่อแม่ สมาชิกในครอบครัว เยาวชนในท้องถิ่นโครงการใหม่
โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว
     -ดำเนินงานโดยกองสูตินารีเวชกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า
     -เตรียมความพร้อมแก่คู่สมรสที่กำลังเตรียมใช้ชีวิตคู่

โครงการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในต่างประเทศ
     1.โครงการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในประเทศอิสราเอล
-โครงการศูนย์ส่งเสริมประสบการณ์เด็กปฐมวัยที่เรียกว่า ALEH (Early Childhood Enrichment Center)
-โครงการเสนอแนะให่พ่อแม่สอนลูก เลี้ยงลูกอย่างไรให้ถูกวิธี
-โครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับผู้ปกครองและเด็ก
     2.โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศสหรัฐอเมริกา
-โครงการศูนย์ข้อมูลพ่อแม่
-โครงการ เฮดสตาร์ท (Head Start)
-โครงการโฮมสตาร์ท (Home Start Program)
-โครงการสมาร์ท สตาร์? (Smart Star)
-โครงการ Brooklyne Early Childhood
     3.โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศนิวซีแลนด์
-โครงการ เพลย์เซ็นเตอร์
-โครงการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียน
-โครงการ "พ่อแม่คือครูคนแรก"(Parents as First Teachers)
     4.โครงการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองประเทศออสเตรเลีย
     5.โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศอักกฤษ(Bookstart UK)
 "ถุงบุ๊คสตาร์ท"
ภายในถุงประกอบด้วย
-หนังสือที่ได้รับการคัดสรรแล้ว2เล่ม
-หนังสือแนะนำพ่อแม่ด้วยภาพเกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็ก
-ของชำร่วยสำหรับเด็ก
-แผนที่แนะนำห้องสมุดแถวละแวกบ้าน
-บัตรสมาชิกห้องสมุดสำหรับเด็ก
-รายชื่อหนังสือสำหรับเด็ก
-รายชื่อศูนย์สนับสนุนคุณแม่เลี้ยงลูก
     6.โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศญี่ปุ่น (Bookstart Japan)

คำถามท้ายบท
1.ในการดำเนินโครงการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครอง ทั้งในและต่างประเทศ มีเป้าหมายร่วมกันอย่างไร
     ตอบ เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการศึกษาปฐมวัยให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

2.นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรที่จะสนับสนุนให้โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม จงอธิบาย
     ตอบ จัดทำโครงการให้ความรู้ผู้ปกครอง โดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมทำกิจกรรมกับเด็กด้วย โครงการที่จัดทำขึ้นอาจจัดเป็นนิทรรศการ เป็นต้น

3.ในฐานะที่นักศึกษาเป็นผู้ให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในอนาคต จงยกตัวอย่างองค์ความรู้หรือเรื่องที่ต้องการจะถ่ายทอดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อใช้ในการดูแลเด็กมา 5 เรื่องพร้อมอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
     ตอบ 1.เรื่องการเลือกของเล่น เช่น การเลือกของเล่นควรเลือกให้เหมาะกับช่วงอายุของเด็กปฐมวัย และของเล่นแต่ละชิ้นมีประโยชน์/โทษอย่างไร แก่เด็กปฐมวัย
2.เรื่องโภชนาการ เช่น เด็กปฐมวัย ควรได้รับสารอาหารประเภทไหนมากที่สุด ควรได้รับพลังงานเท่าไหน่ในแต่ละวัน
3.เรื่องนิทาน เช่น การเลือกนิทานที่ดี เลือกนิทานให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
4.เรื่องการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กทั้ง 4 ด้าน เช่น กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
5.เรื่องเพลง เช่น การร้องเพลงช่วยส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้านไหน อย่างไรบ้าง

4.การให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กหรือไม่ อย่างไร จงอธิบาย
     ตอบ การให้ความรู้ผู้ปกครองส่งผลต่อพฤติกรรมเด็ก เพราะ การให้ความรู้ผู้ปกครองเกี่ยวกับเรื่องราวของเด็ก เช่น เด็กในวัยนี้จะมีพฤติกรรมแบบนี้ แต่เด็กยังไม่แสดงพฤติกรรมนั้นออกมา ก็ทำให้ผู้ปกครองหรือผู้ที่เกี่ยวของช่วยส่งเสริม ทำให้พฤติกรรมนั้นออกมาได้

5.นักศึกษามีวิธีการติดตามผลการให้ความรู้ผู้ปกครองอย่างไร จงอธิบาย
    ตอบ การติดต่อผู้ปกครองอยู่สม่ำเสมอ เช่น การใช้อินเทอร์เน็ตในการติดต่อ (E-Mail, Facebook, Line)

ประเมินตนเอง 100%
ประเมินเพื่อน 100%
ประเมินผู้สอน 100%