วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 6

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 6
วันที่ 12 กันยายน 2559
เวลา 08.30 - 11.30 .

ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดงานราชการ


วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 5

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 5
วันที่ 5 กันยายน 2559
เวลา 08.30 -11.30 น.

เนื้อหาที่เรียน
"โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองในแต่ละประเทศ"



     สถานศึกษาทุกระดับทั้งโลกต่างให้ความสำคัญกับบทบาทหน้าที่ของพ่อแม่ การให้ความรู้กับผู้ปกครองจึงเป็นภารกิจที่สถานได้ดำเนินงานในรูปแบบที่แตกต่างกัน ในแต่ละประเทศทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการศึกษาปฐมวัยให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
     
     โครงการ การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในประเทศไทย
โครงการแม่สอนลูก
     -ดำเนินการโดยกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ
     -จัดสำหรับเด็กที่ด้อยโอกาส
     -แนะนำให้รู้จักใช้ทักษะ
     -อาศัยรูปแบบโครงการ การเยี่ยมบ้านของประเทศ อิสราเอล
     -เนื้อหากิจกรรม เป็นกิจกรรมประติสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูก
โครงการแม่สอนลูก
     -ดำเนินการโดย ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จังหวัดอุบลราชธานี
     -นำแนวทางของโปรแกรม hippy program ของประเทศอิสราเอล
     -เน้นให้ผู้ปกครองมีความพร้อมก่อนส่งลูกเข้าเรียน
โครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
     -ดำเนินงานโดยสำนักสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต
     -มุ่งเร่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กและเยาวชนไทย
โครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว บ้านล้อมรัก
     -ดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
     -เพื่อสร้างความเข้าใจบทบาทของพ่อแม่ ผู้ปกครองในการดูแลเอาใจใส่บุตรหลาน เพื่อให้ปลอดภัยและห่างไกลจากยาเสพติด
โครงการหนังสือเริ่มแรก (bookstart thailand) 
     -เริ่มต้นในปี พ.ศ.2546 โดนเริ่มของมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก
     -มีเป้าหมายให้ พ่อแม่ลูกมีความสุขร่วมกันในโลกของหนังสือ สร้างพื้นฐานการอ่าน และสายสัมพันธ์ในครอบครัว
     -ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยนิสัยรักการอ่าน
โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว
     -เป็นการดำเนินงานร่วมการของกรมพัฒนาชุมชน กรมการศึกษานอกโรงเรียน กรมอนามัย สำนักงานปรัดกระทรวงสาธารณสุข และอีกหลายหน่วยงาน
     -เพื่อพัฒนาและเพิ่มพูดความรู้ให้พ่อแม่ สมาชิกในครอบครัว เยาวชนในท้องถิ่นโครงการใหม่
โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว
     -ดำเนินงานโดยกองสูตินารีเวชกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า
     -เตรียมความพร้อมแก่คู่สมรสที่กำลังเตรียมใช้ชีวิตคู่

โครงการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในต่างประเทศ
     1.โครงการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในประเทศอิสราเอล
-โครงการศูนย์ส่งเสริมประสบการณ์เด็กปฐมวัยที่เรียกว่า ALEH (Early Childhood Enrichment Center)
-โครงการเสนอแนะให่พ่อแม่สอนลูก เลี้ยงลูกอย่างไรให้ถูกวิธี
-โครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับผู้ปกครองและเด็ก
     2.โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศสหรัฐอเมริกา
-โครงการศูนย์ข้อมูลพ่อแม่
-โครงการ เฮดสตาร์ท (Head Start)
-โครงการโฮมสตาร์ท (Home Start Program)
-โครงการสมาร์ท สตาร์? (Smart Star)
-โครงการ Brooklyne Early Childhood
     3.โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศนิวซีแลนด์
-โครงการ เพลย์เซ็นเตอร์
-โครงการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียน
-โครงการ "พ่อแม่คือครูคนแรก"(Parents as First Teachers)
     4.โครงการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองประเทศออสเตรเลีย
     5.โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศอักกฤษ(Bookstart UK)
 "ถุงบุ๊คสตาร์ท"
ภายในถุงประกอบด้วย
-หนังสือที่ได้รับการคัดสรรแล้ว2เล่ม
-หนังสือแนะนำพ่อแม่ด้วยภาพเกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็ก
-ของชำร่วยสำหรับเด็ก
-แผนที่แนะนำห้องสมุดแถวละแวกบ้าน
-บัตรสมาชิกห้องสมุดสำหรับเด็ก
-รายชื่อหนังสือสำหรับเด็ก
-รายชื่อศูนย์สนับสนุนคุณแม่เลี้ยงลูก
     6.โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศญี่ปุ่น (Bookstart Japan)

คำถามท้ายบท
1.ในการดำเนินโครงการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครอง ทั้งในและต่างประเทศ มีเป้าหมายร่วมกันอย่างไร
     ตอบ เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการศึกษาปฐมวัยให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

2.นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรที่จะสนับสนุนให้โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม จงอธิบาย
     ตอบ จัดทำโครงการให้ความรู้ผู้ปกครอง โดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมทำกิจกรรมกับเด็กด้วย โครงการที่จัดทำขึ้นอาจจัดเป็นนิทรรศการ เป็นต้น

3.ในฐานะที่นักศึกษาเป็นผู้ให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในอนาคต จงยกตัวอย่างองค์ความรู้หรือเรื่องที่ต้องการจะถ่ายทอดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อใช้ในการดูแลเด็กมา 5 เรื่องพร้อมอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
     ตอบ 1.เรื่องการเลือกของเล่น เช่น การเลือกของเล่นควรเลือกให้เหมาะกับช่วงอายุของเด็กปฐมวัย และของเล่นแต่ละชิ้นมีประโยชน์/โทษอย่างไร แก่เด็กปฐมวัย
2.เรื่องโภชนาการ เช่น เด็กปฐมวัย ควรได้รับสารอาหารประเภทไหนมากที่สุด ควรได้รับพลังงานเท่าไหน่ในแต่ละวัน
3.เรื่องนิทาน เช่น การเลือกนิทานที่ดี เลือกนิทานให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
4.เรื่องการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กทั้ง 4 ด้าน เช่น กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
5.เรื่องเพลง เช่น การร้องเพลงช่วยส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้านไหน อย่างไรบ้าง

4.การให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กหรือไม่ อย่างไร จงอธิบาย
     ตอบ การให้ความรู้ผู้ปกครองส่งผลต่อพฤติกรรมเด็ก เพราะ การให้ความรู้ผู้ปกครองเกี่ยวกับเรื่องราวของเด็ก เช่น เด็กในวัยนี้จะมีพฤติกรรมแบบนี้ แต่เด็กยังไม่แสดงพฤติกรรมนั้นออกมา ก็ทำให้ผู้ปกครองหรือผู้ที่เกี่ยวของช่วยส่งเสริม ทำให้พฤติกรรมนั้นออกมาได้

5.นักศึกษามีวิธีการติดตามผลการให้ความรู้ผู้ปกครองอย่างไร จงอธิบาย
    ตอบ การติดต่อผู้ปกครองอยู่สม่ำเสมอ เช่น การใช้อินเทอร์เน็ตในการติดต่อ (E-Mail, Facebook, Line)

ประเมินตนเอง 100%
ประเมินเพื่อน 100%
ประเมินผู้สอน 100%


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 4

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4
วันที่ 29 สิงหาคม 2559
เวลา 08.30 - 11.30 น.

เนื้อหาที่เรียน
"การสื่อสารกับผู้ปกครองเด็กปฐมวัย"

ก่อนเข้าเรียนเนื้อหา เล่นเกมเกี่ยวกับการสื่อสาร




ความหมายของการสื่อสาร
     การสื่อสาร คือ กระบวนการส่งข่าวสาร ข้อมูล จากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสารเพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา
ความสำคัญของการสื่อสาร
1.ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม
2.ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้งสองฝ่าย
3.ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น
4.ทำให้เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ
5.ช่วยในการพัฒนาความคิดของตนเอง เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง ก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต

รูปแบบของการสื่อสาร
1.รูปแบบการสื่อสารของอริสโตเติล
2.รูปแบบการสื่อสารของลาล์สเวล
3.รูปแบบการสื่อสารของแชนนอนและวีเวอร์
4.รูปแบบการสื่อสารของออสกูดและชแรมม์
5.รูปแบบการสื่อสารของเบอร์โล (เป็นรูปแบบการสื่อสารของเด็กปฐมวัย)

รูปแบบการสื่อสารของเบอร์โล


องค์ประกอบของการสื่อสาร
1.ผู้ส่งข่าวสาร
2.ข้อมูลข่าวสาร
3.สื่อในช่องทางการสื่อสาร
4.ผู้รับข่าวสาร
5.ความเข้าใจและการตอบสนอง

ผู้ส่งสารและผู้รับสาร
1.ผู้จัดกับผู้ชม
2.ผู้พูดกับผู้ฟัง
3.ผู้ถามกับผู้ตอบ
4.คนแสดงกับคนดู
5.นักเขียนกับนักอ่าน
6.ผู้อ่านข่าวกับคนฟังข่าว
7.คนเล่านิทานกับคนฟังนิทาน

สื่อ
     ใช้วิธีพูด เขียน หรือการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ โดยวิธีการติดต่อต้องใช้ตัวกลางต่างๆ ตัวกลางเหล่านี้เรียกว่าสื่อ

สาร เรื่องราวที่รับรู้ร่วมกัน

วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
1.เพื่อแจ้งให้ทราบ
2.สอนหรือให้การศึกษา
3.สร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง
4.เสนอหรือชักจูงใจ

ประเภทของการสื่อสาร
1.จำแนกตามกระบวนการหรือการไหลของข่าวสาร แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การสื่อสารทางเดียว และ การสื่อสารสองทาง
2.จำแนกตามภาษา สัญลักษณ์ ที่แสดงออก แบ่งเป็น การสื่อสารเชิงวัจนภาษา การสื่อสารอวัจนภาษา
3.จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร แบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ ส่วนบุคคล ระหว่างบุคคล และมวลชน

การสื่อสารกับตนเอง
1.เป็นทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร
2.โต้แย้งกับตนเอง
3.ไม่มีขอบเขต
4.พึมพำ
5.บางครั้งไม่อาจตัดสินใจได้
6.ปลอบใจ เตือนตนเอง วางแผน แก้ปัญหา

การสื่อสารระหว่างบุคคล
1. 2 คนขึ้นไป ไม่ถึงกับเป็นกลุ่ม
2.เป็นเรื่องเฉพาะระหว่างบุคคล
3.เป็นความลับ

การสื่อสารสาธารณะ
1.ส่งสารสู่สาธารณะชน
2.ความรู้และเป็นประโยชน์
3.มีคุณค่าและเปิดเผยได้โดยไม่จำกัดเวลา
4.การบรรยาย การปฐกถา การอบรม การสอนในชั้นเรียน

การสื่อสารมวลชน
1.สื่อที่มีอำนาจการกระจายสูง
2.เฉพาะข้อเท็จจริง
3.สนองความต้องการและความจำเป็นของมวลชน

การสื่อสารในครอบครัว
1.เป็นการสื่อสารขั้นพื้นฐาน
2.ประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับความตั้งใจดีของสมาชิกในครอบครัว
3.คุณธรรมที่ดีงามในครอบครัว จะช่วยพัฒนาการสื่อสารไปในทางดีงามเสมอ
4.ยอมรับและแลกเปลี่ยนประสบการณ์
5.ต่างวัย ทำความเข้าใจให้ตรงกัน
6.คำนึงถึงมารยาท

การสื่อสารในโรงเรียน
1.สื่อสารกับบุคคลที่คุ้นเคย
2.เนื้อหามักเกี่ยวกับวิชาการ พื้นฐานอาชีพ หลักการดำเนินชีวิต
3.สื่อสารระหว่างบุคคล กลุ่ม สาธารณะ
4.อาจมีโอกาสโต้แย้ง ถกเถียง
5.ข้อเท็จจริงและข้อสรุปบางเรื่องไม่ควรนำไปเผยแพร่
6.ระมัดระวังคำพูด และมารยาท
7.คุณธรรมด้านความสื่อสัตย์และการยอมรับอาวุโสเป็นเรื่องสำคัญ

การสื่อสารในวงสังคมทั่วไป
1.การติดต่อกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อนควรพูดให้ตรงประเด็น และสุภาพ
2.การคบหากับชาวต่างชาติ ควรศึกษาประเพณีและมารยาท

ธรรมชาติและพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง
     "ออเออร์บาค"
1.ผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ได้
2.ผู้ปกครองมีความต้องการที่จะเรียนรู้
3.ผู้ปกครองเรียนรู้ได้ดีที่สุดในสิ่งที่เขาสนใจ
4.การเรียนรู้จะมีความหมายที่สุดก็ต่อเมื่อเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวของผู้ปกครอง
5.การมีอิสระในการเรียนรู้จะทำให้ผู้ปกครองเรียนรู้ได้ดีที่สุด
6.ผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ได้จากกันและกัน
7.การให้ความรู้ผู้ปกครองถือเป็นการให้ประสบการณ์แก่ผู้ปกครอง

ธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีประเด็นสำคัญ
1.เรียนรู้ได้ดีในเรื่องของการพัฒนาเด็ก
2.เรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีความสมานฉันท์
3.มีความแปลกใหม่และมีประโยชน์ต่อเด็ก
4.เรียนรู้ได้ดีจากการฝึกปฏิบัติ
5.เรียนรู้ได้ดีในบรรยากาศที่เป็นวิชาการน้อยที่สุด
6.ควรได้รับความต่อเนื่องในการเรียนรู้ทีละขั้นตอน
7.เรียนรู้ได้ดีจากการสื่อและอุปกรณ์ที่หลากหลาย

พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง
    ปัจจัยที่มีผลต่อการแสดงออกพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง
1.ความพร้อม ร่างกายและจิตใจ
2.ความต้องการ ให้ชีวิตดำเนินไปอย่างมีความสุข
3.อารมณ์และการปรับตัว อารมณ์ทางบวก อารมณ์ทางลบ ดังนั้นควรปรับอารมณ์ให้เกิดความสมดุลพร้อมที่จะเรียนรู้
4.การจูงใจ การกระตุ้นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้
5.การเสริมแรง สร้างความพึงพอใจหลังการเรียนรู้
6.ทัศนคติและความสนใจ บุคคลมีการตอบสนองและแสดงความรู้สึกต่อสิ่งเร้าต่างๆ เช่น
   -จัดสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ทำให้ผู้ปกครองพอใจ
   -ช่วงเวลา
7.ความถนัด ความสามารถของบุคคล

อุปสรรคที่สำคัญของการสื่อสาร
1.ขาดทักษะในการศึกษาที่ดี
2.ข้อมูลข่าวสารมากเกินไป
3.ได้ข่าวสารไม่ครบสมบูรณ์
4.ข้อมูลที่ส่งผ่านหลายขั้นตอน
5.เครื่องมือในการส่งข่าวสารไม่เหมาะสม
6.ด่วนสรุป
7.ไม่สอบถามให้เข้าใจเมื่อสงสัย
8.อารมณ์ของผู้รับ หรือผู้ส่งอยู่ในสภาพไม่ปกติ
9.ไม่รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น

7c กับการสื่อสารที่ดี
1.Credibility : ความเชื่อถือ : ทำให้ผู้รับสารเกิดความเชื่อถือ
2.Content : เนื้อหาสาระ : มีสาระให้เกิดความพึงพอใจ
3.Clearly : ความชัดเจน : ข้อความที่เข้าใจง่ายๆ
4.Context : ความเหมาะสม กับโอกาส : การเลือกใช้ภาษา
5.Channel : ช่องทางการส่งสาร : วิธีการส่งข่าวสาร
6.Continuity Consistency : ความต่อเนื่องและแน่นอน
7.Clarity of audience : ความสามารถของผู้รับสาร

คุณธรรมในการสื่อสาร
   คุณธรรม คือ
1.ความดีงามที่มีอยู่ในตัวบุคคล
2.ต้องประกอบด้วยเหตุผลที่ดีของแต่ละบุคคล
3.เกิดจากการปลูกฝังตั้งแต่เด็ก
4.เกิดจากการได้เห็น ได้ยิน ได้อ่าน
5.เกิดจากการได้เห็นพฤติกรรมของคนที่เคารพรักเป็นแบบอย่าง

คุณธรรมที่สำคัญในการสื่อสาร
1.มีสัจจะ ไม่ล่วงละเมิดสิทธิ
2.รัก เคารพ ปรารถนาดี
3.รับผิดชอบ
4.เป็นพฤติกรรมด้านนอกของการสื่อสาร
5.กิริยาวาจา

วิธีการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปกครอง
1.ทำตนให้เข้าใจกับผู้ปกครอง
2.เรียนรู้ความต้องการของเขา
3.พูดคุย พบปะกับผู้ปกครอง
4.หาโอกาสไปร่วมงานพิธีทางศาสนา
5.ทำตนให้กลมกลืนกับผู้ปกครอง
6.มีท่าทีเป็นมิตรอยู่เสมอ
7.เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองร่วมกิจกรรม


คำถามท้ายบท
1.จงอธิบายความหมายและความสำคัญของการสื่อสารมาโดยสังเขป
     ตอบ การสื่อสาร คือ กระบวนการส่งข่าวสาร ข้อมูล จากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสารเพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา
ความสำคัญของการสื่อสาร
1.ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม
2.ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้งสองฝ่าย
3.ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น
4.ทำให้เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ
5.ช่วยในการพัฒนาความคิดของตนเอง เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง ก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต

2.การสื่อสารมีความสำคัญกับผู้ปกครองอย่างไร
     ตอบ ทำให้ผู้ปกครองได้สื่อสารกับเด็ก ทำให้รู้ความรู้สึกนึกคิดของเด็ก และเป็นการสอนภาษาธรรมชาติให้แก่เด็ก อีกประการหนึ่งคือ ผู้ปกครองได้สื่อสารกับคุณครู เพื่อรับรู้การเรียนรู้ และพฤติกรรมของเด็กขณะที่อยู่ที่โรงเรียน

3.รูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการให้ความรู้ผู้ปกครอง ควรเป็นรูปแบบใด จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
     ตอบ รูปแบบการสื่อสารที่สื่อสารออกมาแล้วเข้าใจ เช่น การสื่อสารของลาล์สเวล

4.ธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครองควรมีลักษณะอย่างไร
     ตอบ 1.ผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ได้
2.ผู้ปกครองมีความต้องการที่จะเรียนรู้
3.ผู้ปกครองเรียนรู้ได้ดีที่สุดในสิ่งที่เขาสนใจ
4.การเรียนรู้จะมีความหมายที่สุดก็ต่อเมื่อเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวของผู้ปกครอง
5.การมีอิสระในการเรียนรู้จะทำให้ผู้ปกครองเรียนรู้ได้ดีที่สุด
6.ผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ได้จากกันและกัน
7.การให้ความรู้ผู้ปกครองถือเป็นการให้ประสบการณ์แก่ผู้ปกครอง

5.ปัจจุยที่ช่วยสนับสนุนพฤติกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็กประกอบด้วยปัจจัยด้านใดบ้าง
     ตอบ 1.ความพร้อม ร่างกายและจิตใจ
2.ความต้องการ ให้ชีวิตดำเนินไปอย่างมีความสุข
3.อารมณ์และการปรับตัว อารมณ์ทางบวก อารมณ์ทางลบ ดังนั้นควรปรับอารมณ์ให้เกิดความสมดุลพร้อมที่จะเรียนรู้
4.การจูงใจ การกระตุ้นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้
5.การเสริมแรง สร้างความพึงพอใจหลังการเรียนรู้
6.ทัศนคติและความสนใจ บุคคลมีการตอบสนองและแสดงความรู้สึกต่อสิ่งเร้าต่างๆ
7.ความถนัด ความสามารถของบุคคล

ประเมินตนเอง 100%
ประเมินเพื่อน 100 %
ประเมินผู้สอน 100%